*ยินดีต้อนรับสู่. . .บล็อกของ นางสาวสรียา ศุขเขษม คบ.2 หมู่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษาค่ะ >^ ^<*

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา

     สวัสดีค่ะ (>^ ^<) ยินดีต้อนรับเข้าสู่. . . .บล็อกแห่งการเรียนรู้เรื่องของ "นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา" จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู หมู่ 2 ภาคเรียนที่ 1/2556 สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. . . .เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)
     เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต*



โครงการสอน 
PC54505 วิชานวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา 3(2-2-5) 
(Innovation, Technology and Information in Education) 
อาจารย์ผู้สอน ผศ.ดร.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ 
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 
ภาคเรียนที่ 1 / 2556 

___________________________________________________________________________________

คำอธิบายรายวิชา
     ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้ การสร้าง การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรุ้ของผู้เรียน

วัตถุประสงค์
     เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหากิจกรรมในบทเรียนแล้วจะมีความสามารถหรือพฤติกรรมอังนี้
     1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ หลักการ และแนวคิดนวัตกรรม เทคโนโลยีแลสารสนเทศ
     ทางการศึกษาได้
     2. อธิบายบทบาท คุณค่า ประเภท และประโยชน์ของนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ
     การศึกษาได้
     3. อธิบายความสัมพันธ์ของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
     4. บอกขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม และเปรียบเทียบความแตกต่างกับเทคโนโลยีได้อย่าง
     ชัดเจน
     5. บอกความหมาย ขั้นตอนและกระบวนการของการเรียนรู้ การรับรู้ตามธรรมชาติของ
     ผู้เรียนแต่ละวัยได้
     6. วิเคราะห์สาเหตุในการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการปัญหาทาง
     การศึกษาได้
     7. ยกตัวอย่างนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาในยุคปัจจุบันได้
     8. ออกแบบและสร้างสรรค์นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
     9. ปรับปรุงและเลือกใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษากับการเรียนการ
     สอนได้
     10. ประเมินผลนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการศึกษาได้
     11. ระบุและเสนอแนะแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศทางการ
     ศึกษาได้
     12. ออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้

เนื้อหาบทเรียน
     หน่วยการเรียนที่ 1 แนวคิด ทฤษฎี ความหมายความสำคัญของนวัตกรรม เทคโนโลยีและ
     สารสนเทศการศึกษา
     หน่วยการเรียนที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
     หน่วยการเรียนที่ 3 สื่อการเรียนการสอน
     หน่วยการเรียนที่ 4 วิธีระบบ
     หน่วยการเรียนที่ 5จิตวิทยาการเรียนการสอน
     หน่วยการเรียนที่ 6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
     หน่วยการเรียนที่ 7 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
     หน่วยการเรียนที่ 8 หนังสืออีเล็กทรอนิกส์(e-Book)
     หน่วยการเรียนที่ 9 สื่อมัลติมีเดีย (Multi-Media)
     หน่วยการเรียนที่ 10 การเรียนการสอนแบบผสมผสาน

กิจกรรมการเรียนการสอน
1. รูปแบบการสอนเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน(blended learning)ระหว่าง การเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ(Face-to-Face or Traditional Classroom) กับ การเรียนการสอนบนออนไลน์โดยใช้เว็บบล็อก (Online Learning with Weblog)โดยใช้อัตราส่วน 39% - 79%
2. เทคนิควิธีสอน
     2.1 การบรรยายประกอบสื่อการเรียนการสอน
     2.2 การมอบหมายงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
     2.3 การทำงานเป็นกลุ่มด้วยการแสดงความคิดเห็น
          - การซักถาม
          - การอภิปราย
          - การทำแบบฝึกหัด
          - การแสดงผลงาน

การบูรณาการกับความพอเพียง
ความมีเหตุผล
ความพอประมาณ
ภูมิคุ้มกันในตนเองที่ดี
     - เงื่อนไขความรู้ : รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
     - เงื่อนไขคุณธรรม : ซื่อสัตย์ แบ่งปัน

คุณลักษณะที่พึงประสงค์
     ผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้จะต้องเป็นผู้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำคัญได้แก่ ความซื่อสัตย์ โดยแสดงออกอย่างบูรณาการอย่างสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่างๆไปพร้อมๆกับกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน เช่น
     - ความรับผิชอบและตรงต่อเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
     - มีความรักความสามัคคีในกลุ่มผู้เรียนร่วมวิชาเอกเดียวกันและวิชาเอกอื่นๆ
     - ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์
     - ใฝ่ดี ใฝ่รู้ สู้งาน
     - มีความคิดสร้างสรรค์
     - มีระเบียบวินัยในการแต่งกาย
     -  สุภาพ เสรีภาพ อ่อนน้อม และให้เกียรติผู้อื่น

แหล่งเรียนรู้
     1. ห้องสมุด
     2. อินเตอร์เน็ต
     3. เอกสารประกอบการสอน
     4. ตัวอย่างเว็บบล็อก
     5. สื่อของจริง ของตัวอย่าง
     6. ชุมชนท้องถิ่น

การวัดและประเมินผล
     1. การวัดผล
          1.1 การเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน(คุณลักษณะที่พึงประสงค์)                    10 %
          1.2 เอกสารรายงาน การแสดงความคิดเห็นและการประเมิน (รายบุคคล)                10 %
          1.3 เว็บบล็อก (รายบุคคล)                                                                                20 %
          1.4 เว็บบล็อก (กลุ่ม)                                                                                        20 %
          1.4การนำเสนอผลงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน                   20 %
          1.5 สอบปลายภาค                                                                                           20 %

     2. การประเมินผล

                        ระดับคะแนน                80 – 100                ค่าระดับคะแนน                     A
                        ระดับคะแนน                75 – 79                  ค่าระดับคะแนน                     B+
                        ระดับคะแนน                70 – 74                  ค่าระดับคะแนน                     B
                        ระดับคะแนน                65 – 69                  ค่าระดับคะแนน                     C+
                        ระดับคะแนน                60 – 64                  ค่าระดับคะแนน                     C
                        ระดับคะแนน                55 – 59                  ค่าระดับคะแนน                     D+
                        ระดับคะแนน                50 – 54                  ค่าระดับคะแนน                     D
                        ระดับคะแนน                  0 – 49                  ค่าระดับคะแนน                     E



"ความซื่อสัตย์ (Integrity) ในการทำงาน"

          คุณเคยถามตัวคุณเองหรือไม่ว่า "คุณมีความซื่อสัตย์ในการทำงาน" มาก น้อยเพียงใด...ซึ่งแน่นอนว่า คุณต้องตอบว่า "คุณมีความซื่อสัตย์ในการทำงาน"...ความซื่อสัตย์จึงเป็นคุณลักษณะที่สำคัญและเป็นที่ต้องการในทุกองค์การ ซึ่งความซื่อสัตย์นอกจากจะหมายถึง การรักษาความลับ ผลประโยชน์ และทรัพย์สินต่าง ๆ ของส่วนราชการแล้ว ความซื่อสัตย์ยังหมายรวมไปถึงการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและไม่บิดเบือนจากความเป็นจริง และการปฏิบัติตามระเบียบหรือกฎของส่วนราชการ และยังพบว่าอีกว่ามีหลายองค์การได้กำหนดความซื่อสัตย์เป็นวัฒนธรรมองค์การ (Corporate Culture) หรือคุณค่าร่วม ( Core Value) ที่เกี่ยวข้องกับความคิดความเชื่อที่อยากให้บุคลากรทุกคนปฏิบัติ


         แล้วทำไม?...คุณจะต้องมีความซื่อสัตย์ในการทำงาน ..... ความซื่อสัตย์ในการทำงานจะส่งผลโดยตรงต่อคุณลักษณะส่วนบุคคล ( Personal Attribute) ของตัวคุณเองที่คนอื่นมองหรือรับรู้ในตัวคุณว่าเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์หรือไม่ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผลต่อเนื่องไปยังหน่วยงานและองค์การของคุณเอง ทั้งนี้คุณลักษณะของความซื่อสัตย์จะมีความสำคัญและส่งผลต่อตัวคุณและต่อหน่วยงานหรือส่วนราชการของคุณ...สรุปได้ดังต่อไปนี้ 

          1. การได้รับ ความไว้วางใจ จากหัวหน้างานของคุณพนักงานที่มีความซื่อสัตย์ย่อมทำให้หัวหน้างานพร้อมและกล้าพอที่จะมอบหมายงานที่สำคัญหรือเป็นความลับของหน่วยงานให้กับคุณ เพราะหัวหน้าไว้วางใจตัวคุณเพราะรู้ว่างานที่มอบหมายให้ไปนั้นคุณต้องทำเสร็จและข้อมูลที่คุณทำนั้นมีความถูกต้องอย่างแน่นอน 


         2. ความน่าเชื่อถือ ได้ของตัวคุณ คุณจะได้รับการยอมรับและการกล่าวถึงในทางที่ดีจากบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือแม้กระทั่งผู้มาใช้บริการของคุณเอง เช่น ยอมรับว่าคุณมีความรับผิดชอบและความตั้งใจทำงาน เนื่องจากคุณไม่เคยที่จะขาดงานหรือมาสาย รวมทั้งข้อมูลที่คุณให้นั้นมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันเสมอ 


          3. สร้างผลงาน ( Performance) ของตัวคุณ ความซื่อสัตย์ทำให้คุณมีโอกาสทำงานใหญ่หรือสำคัญ ซึ่งอาจเป็นงานที่มีผลกระทบต่อหน่วยงานหรือส่วนราชการ โดยคุณจะมีโอกาสแสดงฝีมือการทำงานของคุณและโอกาสนี้เองย่อมจะส่งผลต่อเนื่องไปยังผลผลการปฏิบัติงาน ( Performance) และมูลค่าเพิ่ม ( Added Value) ของตัวคุณเอง 


          4. รักษาผลประโยชน์ของส่วนราชการ. . .หากคุณมีความซื่อสัตย์แล้วล่ะก็ ย่อมหมายถึงคุณไม่ได้เอาเปรียบหน่วยงานและส่วนราชการแล้ว เนื่องจากคุณทำงานอย่างเต็มที่ ได้ปฏิบัติตามระเบียบและรักษาทรัพย์สินของส่วนราชการ และรวมถึงคุณไม่เอาความลับของส่วนราชการไปเปิดเผยให้ผู้อื่นรับรู้ ซึ่งหมายถึงคุณกำลังรักษาผลประโยชน์ให้กับหน่วยงานและส่วนราชการของคุณเอง


          หากจะวัดหรือประเมินความซื่อสัตย์ได้อย่างไร?...เช่น หากถามว่านาย ก มีความซื่อสัตย์มากกว่านาย ข นั้น เราจะพิจารณาหรือประเมินได้จากอะไรได้บ้าง และเพื่อทำให้ส่วนราชการสามารถประเมินหรือวัดความซื่อสัตย์ได้ จึงทำให้ส่วนราชการได้กำหนดความซื่อสัตย์เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถอย่างหนึ่ง ( Competency) ซึ่งสามารถกำหนดได้เป็นความสามารถหลัก ( Core Competency) ที่เป็นความสามารถหรือพฤติกรรมที่ใช้วัดหรือประเมินบุคลากรสำหรับทุกคนและทุกตำแหน่งงาน

          นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดเป็
นความสามารถในงาน ( Job Competency) ได้อีกด้วย ซึ่งพฤติกรรมของความซื่อสัตย์นั้นสามารถกำหนดเป็นพฤติกรรมออกมาแยกเป็นระดับต่าง ๆ เพื่อใช้ประเมินผลและพัฒนาพนักงานได้ โดยขอยกตัวอย่างของการแบ่งพฤติกรรมความซื่อสัตย์ออกเป็น 5 ระดับดังต่อไปนี้

                ระดับ                                                                                    ลักษณะพฤติกรรม

1 (ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก)                       • ให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากความเป็นจริง 

                                                                                        เป็นเหตุให้เกิดปัญหาหรือความเข้าใจผิดได้
                                                                                       • หลีกเลี่ยงการตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิด
                                                                                       ระเบียบหรือกฎของส่วนราชการ
                                                                                       • ปฏิเสธและไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิด
                                                                                       ขึ้น โดยมักจะอ้างถึงผู้อื่นอยู่เสมอ
                                                                                   • ละเมิดระเบียบหรือกฎของส่วนราชการอยู่
                                                                                       เสมอ

2 (ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่กำหนด)                                     • ดูแลและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์

                                                                                      ของส่วนราชการบ้างเป็นบางครั้ง
                                                                                      • ตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบหรือกฎ
                                                                                      ของส่วนราชการเท่าที่จำเป็น
                                                                                     • ไม่ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของส่วน
                                                                                     ราชการเป็นบางครั้ง
3 (ตามมาตรฐาน ที่กำหนด)                                      • รับฟังและไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาเปิดเผย 

                                                                                      • ดูแลและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์
                                                                                      ของส่วนราชการอยู่เสมอ
                                                                                      • ไม่นำทรัพย์สินของส่วนราชการมาใช้
                                                                                      ประโยชน์ส่วนตัว
                                                                                      • ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของส่วน
                                                                                     ราชการอยู่เสมอ

4 (สูง/เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด)                            • ไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่อาจสร้าง

                                                                                     ความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดขึ้นได้
                                                                                     • ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับ
                                                                                     กลุ่มคน เวลา และสถานการณ์ 
                                                                                     • ตักเตือนสมาชิกในทีมเมื่อทำผิดระเบียบ
                                                                                     หรือกฎของส่วนราชการ
                                                                                     • ยอมรับและหาทางแก้ไขความผิดพลาดที่
                                                                                     เกิดขึ้นจากการทำงานของตนเอง

5 (สูง/เกินกว่า มาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก)            
• แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นพนักงานใน
                                                                                     องค์กรทำผิดระเบียบหรือกฎของส่วน
                                                                                     ราชการ
                                                                                     • ปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกทั้งภายในและ
                                                                                     ภายนอกหน่วยงานมีจรรยาบรรณและ 
                                                                                     คุณธรรมในการทำงานและในวิชาชีพของ
                                                                                     ตน
                                                                                     • นำทรัพย์สินของตนเองมาใช้เพื่อให้การ
                                                                                     ทำงานประสพผลสำเร็จตามเป้าหมายที่
                                                                                     กำหนด

          ดังนั้น ความซื่อสัตย์จึงเป็นพฤติกรรมหรือความสามารถด้านหนึ่งที่คุณเองไม่ควรละเลยหรือเพิกเฉย คุณควรเริ่มสำรวจตัวเองว่าคุณมีความซื่อสัตย์ในการทำงานหรือไม่ และอยู่ในพฤติกรรมระดับไหน ทั้งนี้ขอให้คุณเปิดใจพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตนเองให้มีความซื่อสัตย์ในการทำงาน ซึ่งคุณเองอาจลืมหรือคิดไม่ถึงว่าพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของตัวคุณเองนั้นจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ปรากฏต่อสายตาของผู้อื่นและบุคคลรอบข้าง และจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงผลประโยชน์ที่หน่วยงานและส่วนราชการจะได้รับ...
ที่มา : www.hrcenter.co.th/HRKnowView.asp?id=252






"เศรษฐกิจพอเพียง"

1.  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ อะไร
     เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน การพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวหน้าต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก




2.  เศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไร
     เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเอง และผู้อื่น ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อนมีความพอกินพอใช้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ย่อมสามารถ สร้างความเจริญก้าวหน้าและฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศได้

3.  ใครที่สามารถนำเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติได้ 
     เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปรัชญาที่ทุกๆ คนสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวท่านเอง นักเรียน เกษตรกร ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ตลอดจนบริษัท ห้างร้าน สถาบันต่างๆ ทั้งนอกภาคการเกษตรและในภาคการเกษตร สามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าวไปปฏิบัติ เพื่อดำรงชีวิตและพัฒนาธุรกิจการค้าได้จริง

4.  หลักการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงต้องคำนึง
     ถึงอะไรบ้างการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงหลักการ 3 ประการ ดังนี้
         1.ความพอประมาณ
         2.ความมีเหตุผล
         3.การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

     โดยการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียงที่ดีจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ความรู้ และคุณธรรม 
ตลอดจนต้องเป็นคนดี มีความอดทน พากเพียร 
     ความพอประมาณ หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิต การดำเนินธุรกิจอย่าง
พอเพียงตามความสามารถ และศักยภาพของตนที่มีอยู่ และต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลที่เหมาะสมตลอดจนพึงนึกถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ
     การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว เป็นการเตรียมความพร้อม ความรู้ ที่จะรับผลกระทบ และ
การเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง

การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ท่านสามารถมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยร่วมปฏิบัติในสิ่งง่ายดังนี้
     1.ยึดหลักประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในทุกด้าน ลด ละ ความฟุ่มเฟื่อยในการ
     ดำรงชีวิต
     2.ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพ
     3.ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ที่รุนแรงและไม่ถูกต้อง
     4.ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ โดยขวนขวายหาความรู้ ให้เกิดราย
     ได้เพิ่มพูน
จนถึงขั้นพอเพียง
     5.ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วร้ายให้หมดสิ้นไป




5.  การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจะเกิดผล
อย่างไร
     การดำเนินการพัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจักนำไปสู่
     1.การดำรงชีวิตที่สมดุลมีความสุขตามอัตภาพ
     2.การพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองและประเทศชาติมั่นคง
     3.การอยู่ร่วมกันในสังคมเกิดวามเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน

     นอกจากนี้ ปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ปฏิเสธการเป็นหนี้สิน การกู้ยืมเงิน 
แต่เน้นการบริหารความเสี่ยง คือ แม้ว่าจะกู้ยืมเงินมาลงทุน ก็เพื่อดำเนินกิจการที่ไม่ก่อให้เกิด
ความเสี่ยงมากจนเกินไปแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ห้ามไม่ให้ลงทุนหรือขยายธุรกิจ 
แต่เน้นให้ทำธุรกิจที่ไม่ให้เสี่ยงมากเกินไปควรลงทุนให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง